วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

การทดลองไฟฟ้ากระแส

โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)

โวลต์มิเตอร์ (Voltmeter)

โวลต์มิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันไฟฟ้า หรือความต่างศักย์ตกคร่อมจุดสองจุดใดๆ เมื่อนำไปวัดจึงต้องนำไปต่อคร่อมจุดที่ต้องการวัด

โวลต์มิเตอร์ ดัดแปลงจากการนำความต้านทานที่มีค่าสูงมาต่ออนุกรมกับแกลแวนอมิเตอร์

สาเหตุที่นำความต้านทานสูงๆ มาต่อ เพราะต้องการให้โวลต์มิเตอร์ มีความต้านทานภายในสูงมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสในวงจรแยกไหลมาเข้าโวลต์มิเตอร์ ซึ่งจะทำให้กระแสที่จะไหลผ่านจุดที่ต้องการวัดมีค่าน้อยลง เป็นผลให้การวัดเกิดความคลาดเคลื่อน

การนำไปใช้วัด

นำโวลต์มิเตอร์ไปต่อขนาน หรือต่อคร่อมจุดที่ต้องการวัดแรงดันในวงจร ดังนี้




ค่าแรงดันที่โวลต์มิเตอร์อ่านค่าได้ จะเป็นแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน

คุณสมบัติของโวลต์มิเตอร์ที่ดี

1. มีความแม่นยำสูง ซึ่งเกิดจากการนำความต้านทาน r ที่มีค่าสูงมากๆ ต่ออนุกรมกับแกลแวนอมิเตอร์ เพื่อป้องกันมิให้มีกระแสแยกไหลผ่านโวลต์มิเตอร์ ทำให้กระแสไหลผ่านจุดที่ต้องการวัดทั้งหมด ค่าแรงดันที่วัดได้ จึงมีความผิดพลาดน้อย
2. มีความไวสูง แม้ค่าแรงดันมีค่าต่ำมากก็สามารถตรวจวัดได้

ที่มา ; http://www.pbj.ac.th/tawattidate/electronic/lanning3.htm

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

เคมี 2

1. ปฏิกิริยาต่อไปนี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีไอออนของเหล็กละลายในน้ำ
Fe (OH)2 HFeO2- (1)
HFeO2- + H2O Fe(OH)3 + 2e- (2)
ก) ในสมการ (1) Fe2- ถูกออกซิไดส์เป็น Fe3+
ข) ในสมการ (2) H2O เป็นตัวรีดิวซ์
ค) เลขออกซิเดชันของ O ในทั้งสองสมการ ไม่เปลี่ยนแปลง
ง) ในสมการ (2) เลขออกซิเดชันของ Fe เปลี่ยนแปลง
ข้อสรุปใดถูกต้อง
1. ข และ ค. 2. ข. และ ง.
3. ค. และ ง. 4. ก. ค. และ ง.

2.จงดุลสมการต่อไปนี้ด้วยเลขออกซิเดชัน แล้วหาผลรวมของ a + b + c + d + e + f
aKI + bH2SO4 cK2SO4 + dH2S + eI2 + fH2O
1. 11 2. 18 3. 26 4. 29

3.พิจารณาข้อความเกี่ยวกับปฏิกิริยารีดอกซ์ดังนี้
ก.ตัวรีดิวซ์ และตัวออกซิไดส์อาจจะเป็นสารตัวเดียวกันได้
ข.ถ้าสาร A เป็นตัวรีดิวซ์ อะตอมใดอะตอมหนึ่งในสาร A ต้องมีเลขออกซิเดชันลดลง
ค.ถ้าสาร B เป็นตัวออกซิไดส์ อะตอมใดอะตอมหนึ่งในสาร B ต้องมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น
ง.สารที่มีค่า Eo (ครึ่งเซลล์รีดักชัน) มากกว่า จะเป็นตัวรีดิวซ์ เทียบกับสารที่มีค่า Eo น้อยกว่าจะเป็นตัวออกซิไดส์
จ.ถ้าจุ่มโลหะ X ลงในสารละลายโลหะไอออน Y2+ แล้วเกิดปฏิกิริยา แสดงว่าโลหะ X เป็นตัวรีดิวซ์
ข้อความที่ไม่ถูกต้องคือข้อใด
1. ก. ข. ค. 2. ข. ค. ง. 3. ค. ง. จ.
4. ก. ง. จ.

4.พิจารณาปฏิกิริยาเคมีต่อไปนี้
aHNO3(aq) + bCu(s)
cCu(NO3)2(aq) + dNO(g) + eH2O(l)
a, b, c, d และ e มีค่าเท่าใด

a b c d e
1) 4 2 2 1 2
2) 6 2 2 2 3
3) 8 3 3 2 4
4) 12 3 3 2 6

5. กำหนดให้ Eo, V
A2+(aq) + 2e- A(s)
B+(aq) + e- B (s)
C3+(aq) + 3e- C (s)
D2+(aq) + 2e- D (s) -2.70
-1.70
+1.50
+1.75

พิจารณาแผนภาพเซลล์ต่อไปนี้

เซลล์ที่ 1
เซลล์ที่ 2
เซลล์ที่ 3
เซลล์ที่ 4 A(s) / A2+(aq) // B+(aq) / B(s)
C(s) / C3+(aq) // B+(aq) / B(s)
D(s) / D2+(aq) // C3+(aq) / C(s)
A(s) / A2+(aq) // D2+(aq) / D(s)

เซลล์ใดจะมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากแอโนดไปยังแคโทด
1. เซลล์ที่ 1 และเซลล์ที่ 2 2. เซลล์ที่ 2 และเซลล์ที่ 3
3. เซลล์ที่ 3 และเซลล์ที่ 4 4. เซลล์ที่ 1 และเซลล์ที่ 4


6.เมื่อจุ่มโลหะลงในสารละลายได้ผลตามตาราง
โลหะ สารละลาย (1 M) ผลการทดลอง
Pb
Al
Al
Cu CuSO4
CuSO4
Pb(NO3)2
AgNO3 สีของสารละลายจางลง
สีของสารละลายจางลง
มีโลหะเกาะที่ผิว Al
มีโลหะเกาะที่ผิว Cu
การเรียงลำดับความสามารถในการเป็นตัวออกซิไดซ์ของไอออนของโลหะจากมากไปน้อย ข้อใดถูก
1. Pb2+ > Al3+ > Cu2+ > Ag+ 2. Cu2+ > Pb2+ Ag+ > Al3+
3. Ag+ > Cu2+ > Pb2+ > Al3+ 4. Al3+ > Pb2+ Cu2+ > Ag+

7. ข้อใดถูก
ปฏิกิริยาเคมี ตัวรีดิวซ์ ตัวออกซิไดส์
1)
2)
3)
4)Cl2 + H2O Cl- + ClO- + H+
S2O32- + H+ + Cl2 SO42- + Cl- + H2O
C2H5Oh + MnO4- + H+ CH3COO- + MnO2 + H2O
K2CrO4 + H2SO4 K2Cr2O7 + K2SO4 + H2O H2O
H+
C2H5OH
H2SO4 Cl2
Cl2
MnO4-
K2CrO4

8. เมื่อไทเทรตสารละลาย Ce4+ เข้มข้น 1.0 mol dm-3 ปริมาร 40.0 cm3 กับสารละลาย Sn2+ เข้มข้น 1.0 mol dm-3 เมื่อถึงจุดยุติอ่านปริมาณได้ 20.0 cm3 เลขออกซิเดชันสุดท้ายของ Ce เป็นเท่าใด
กำหนดปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้อง Ce4+ + Sn2+ Cen+ + Sn4+
1. +1 2. +2 3. +3 4. +5

9. กำหนดค่าศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของครึ่งเซลล์รีดักชันที่ 298 K ดังนี้
ปฏิกิริยาครึ่งเซลล์รีดักชัน Eo (โวลต์)
Cl2(g) + 2e- 2Cl-(aq)
Ag+(aq) + e- Ag(s)
2H+(aq) + 2e- H2(g)
Ni2+(aq) + 2e- Ni(s)
Zn2+(aq) + 2e- Zn(s) +1.36
+0.80
0.00
-0.25
-0.76
พิจารณาแผนภาพเซลล์กัลวานิกต่อไปนี้ ข้อใดเป็นไปได้และมีค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์กี่โวลต์ ตามลำดับ
ก. Pt(s)  Cl2(g, 1 atm)  Cl-(aq)  H+(aq)  H2 (g, 1 atm)  Pt(s)
ข. Zn(s)  Zn2+(aq)  Ni2+(aq)  Ni(s)
ค. Ni(s)  Ni2+(aq)  H+(aq)  H2(g, 1 atm)  Pt(s)
ง. Ag(s)  Ag+(aq)  H+(aq)  H2(g, 1 atm)  Pt(s)
ข้อใดถูก
1. ก. และ ข. Eoเซลล์ = +1.36 V และ +0.51 V
2. ข และ ค. Eoเซลล์ = +0.51 V และ +0.25 V
3. ค. และ ง. Eoเซลล์ = +0.25 V และ +0.80 V
4. ก. และ ง. Eoเซลล์ = +1.36 V และ +0.80 V

10.ข้อมูลกำหนดให้
Eo(Volt)
Hg22+ + 2e- 2Hg
Cu2+ + 2e- Cu
2H+ + 2e- H2
Pb2+ + 2e- Pb
Fe2+ + 2e- Fe 0.79
0.34
0.00
-0.13
-0.44

ข้อสรุปต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง
1. เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ต่อระหว่าง Hg/Hg22+ กับ Fe/Fe2+ จะมีความต่างศักย์มากที่สุด
2. เราสามารถใช้ภาชนะที่ทำด้วยตะกั่วเก็บ CuSO4 ได้ แต่ไม่สามารถเก็บ Pb2+ ในภาชนะ Cu
3. Pb2+ เป็นตัวออกซิไดส์ ดีกว่า Fe2+
4. Pb เป็นตัวรีดิวซ์ดีกว่า Cu

วิชาเคมี

1. พิจารณาธาตุและสมบัติต่างๆ ดังนี้
(ก) ธาตุ X เป็นโลหะที่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1 ตัว เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจน
จะเกิดสารที่มีสูตรเป็น X2O
(ข) ธาตุ Y เป็นโลหะ อยู่ในหมู่ 2 คาบ 3 เมื่อทำปฏิกิริยากับคลอรีนจะเกิดสารที่มี
สูตรเป็น YCl2
(ค) ธาตุ A และ Z มีเลขอะตอมเป็น 6 และ 9 ตามลำดับ เมื่อเกิดเป็นสาร
ประกอบจะได้สารที่มีสูตรเป็น AZ 4
ข้อใดถูกต้อง
1. (ก) และ (ข)
2. (ก) และ (ค)
3. (ข) และ (ค)
4. (ก) (ข) และ (ค)
เฉลย 4.
2. ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1. ธาตุ 6X เมื่อเกิดเป็นสารประกอบคลอไรด์จะมีสูตรเคมีเป็น XCl3
2. ธาตุ 11X ทำปฏิกิริยากับน้ำให้สารประกอบไฮดรอกไซด์และแก๊สไฮโดรเจน
3. ธาตุ 12X เมื่อเกิดเป็นสารประกอบไฮไดรด์จะมีสูตรเคมีเป็น XH
4. สารประกอบออกไซด์ของธาตุ 16X เมื่อละลายในน้ำจะมีสมบัติเป็นเบส
เฉลย 2.
3.สารประกอบทุกตัวในข้อใดที่มีองค์ประกอบของธาตุกึ่งโลหะ
1. แก้ว สารส้ม
2. น้ำตาลทราย บอแรกซ์
3. คอรันดัม ดินประสิว
4. เกลือแกง เกลืออนามัย
เฉลย 1.
4. พิจารณาข้อความต่อไปนี้
ก. แร่พลวงในธรรมชาติ คือ ก่อนนำไปถลุงต้องเปลี่ยนให้เป็นออกไซด์ก่อน เรียกกระบวนการนี้ว่าย่างแร่ (สมการ 1)
ข. ออกไซด์ของพลวงถูก CO รีดิวซ์เป็นพลวง (สมการ 3)
ค. การเผาถ่านหินทุกครั้งจะได้ CO (สมการ 2)
ง. ถ้าแร่พลวงไม่บริสุทธิ์ จะต้องใช้ มาดึงเอาสารปนเปื้อนออกมาเป็นตะกอน
ข้อใดถูก
1. ข้อ ก ข้อ ข และ ข้อ ค
2. ข้อ ข ข้อ ค และ ข้อ ง
3. ข้อ ก ข้อ ข และ ข้อ ง
4. ข้อ ก ข้อ ค และ ข้อ ง
เฉลย 3.
5.สารประกอบ A, B และ C มีองค์ประกอบของธาตุดังตาราง
สารประกอบ ร้อยละโดยมวล มวลโมเลกุล
P O H
A 43.66 56.34 - 284
B - 88.89 11.11 18
C 31.63 65.31 3.06 98


จากการทดลองพบว่าเมื่อผสม A 2 โมล กับ B 5 โมล ได้ผลิตภัณฑ์เป็น C 2โมล จงหาร้อยละของผลได้จากการทดลองนี้
1. C 50%
2. C 60%
3. C 70%
4. C 80%
เฉลย 2.
6.หินปูนตัวอย่างประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตและสิ่งเจือปนอื่นๆ ถ้านำหินปูนตัวอย่าง 1.00 kg มาเผาจนแคลเซียมคาร์บอเนตสลายตัวอย่างสมบูรณ์ พบว่าเกิดแก๊สคาร์บอนไดไซด์หนักเท่ากับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากเผา ไหม้โพรเพน 110 g อย่างสมบูรณ์ จงจำนวนหาร้อยละของแคลเซียมคาร์บอนเนตในหินปูนตัวอย่าง
1. 75
2. 80
3. 85
4. 90
เฉลย 1.
7.ในการผลิตเกลือสินเธาว์ข้อใดไม่ใช่ปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
1. ทำให้ปริมาณ และ ในดินเพิ่มขึ้น
2. ต้องใช้ปริมาณน้ำจืดจำนวนมาก ทำให้ขาดแคลนน้ำจืด
3. เกลือสินเธาว์ขาดธาตุไอโอดีนทำให้ไม่เหมาะที่จะบริโภค
4. เกิดการยุบตัวของพื้นดินบริเวณที่มีการผลิตเกลือและน้ำเกลือบาดาล และชั้นเกลือหิน
เฉลย 3.
8. ในการถลุงแร่ตะกั่วจากแร่กาเลนา (PbS) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 เผาแร่ในอากาศจะเกิดสารประกอบเลด (II) ออกไซด์ มีร้อยละของผลได้เท่ากับ 95.6
ขั้นที่ 2 รีดิวซ์เลด(II) ออกไซด์ด้วยแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ตะกั่วมีร้อยละของผลได้เท่ากับ 80
ถ้าต้องการตะกั่ว 41.1 g จะต้องใช้แร่กาเลนากี่กรัม
1. 61.15
2. 62.5
3. 63.16
4. 64.14
เฉลย 2.
9. เมื่อนำสารละลาย HCI เข้มข้น 0.1 ปริมาตร 45 มาผสมกับสารละลาย NaOH เข้มข้น 1 ปริมาตร x จะได้สารละลายที่มี
pH 12 จงคำนวณหาค่า x
1. X = 4.00
2. X = 4.04
3. X = 5.00
4. X = 5.04
เฉลย 4.
10.สังกะสีและกำมะถันทำปฏิกิริยาการเกิดซิงค์ซัลไฟด์ (ZnS) ซึ่งเป็นสารตัวหนึ่งที่ใช้ในสารเรืองแสงที่เคลือบผิวด้านของหลอดภาพโทรทัศน์ ถ้าให้สังกะสี 29.25 g ทำปฏิกิริยากับกำมะถัน 16.0 g เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์จะมีสารใดเหลือ และเหลือกี่กรัม
1. Zn, 3.25
2. Zn, 6.5
3. S, 0.8
4. S, 1.6
เฉลย 4.